รับแกะสลักด้วยเครืองCNC พระพุทธรูปแกะสลัก /ป้ายแกะสลัก /ภาพมงคลแกะสลัก/ รับงานสั่งทำแกะสลัก

ไม้แกะสลัก

สินค้าโอทอป จังหวัด นครปฐม เลขที่ 7307000122


จะใช้าพนี้..เป็นครู..ของชีวิต

ภาพดลจิต..ให้อดทน..เป็นคนสู้

จะเป็นคน..ใฝ่ศึกษา..หาความรู้

รู้จักอยู่..อย่างเพียงพอ..ไม่รอกาล

รับแกะสลักงานไม้ทุกชนิด รับแกะสลักไม้ แกะสลักป้ายไม้ แกะสลักรูปปั้น แกะสลักประตู้วัด ประตูโบสถ์ แกะสลักบล๊อกทำขนม แกะสลักไม้ตามแบบ หรืออยากจะแกะทำลวดลายด้วยเครื่อง CNC ก็ได้ แกะได้หมด เช่น ประตู หน้าต่าง ป้าย ของแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ทางเรามีบริการรองรับแบบครบวงจร ไม่ว่างานเล็ก งานใหญ่เรารับหมด ด้วยช่างที่มีประสบการณ์การ ส่งแบบมาสอบถามก่อนได้

ยินดีให้คำแนะนำ ปรึกษา เรื่องงานไม้ งานป้าย ทุกชนิด

พระพุทธชินราช ไม้แกะสลัก

พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตกในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ พระพุทธชินราชได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งและยังเป็นพระพุทธรูปที่นิยมจำลองกันมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนชาวไทยศรัทธาและนิยมเดินทางมากราบไหว้มากที่สุดองค์หนึ่งด้วย

ประวัติ

พระพุทธชินราช ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คงมีแต่พงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือเรื่องต่าง ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปี พ.ศ. 2350 ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลกและพระพุทธรูปอีก 2 องค์คือพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา

พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในชื่อ "ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา" ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พงศาวดารเหนือในการอ้างอิงจึงทำให้มีเนื้อหาหลักคล้ายคลึงกัน แต่เพิ่มเติมการสร้างพระเหลือเข้าไป และมีการระบุศักราชในการสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ไว้ดังนี้ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อในปี พ.ศ. 1498 และพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในปี พ.ศ. 1500 (หย่อนอยู่ 7 วัน)

พ.ศ. 2423 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงแต่งตำนานการสร้างพระพุทธชินราชขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง ชื่อ "พงษาวดารเหนือ : เป็นลิลิตเรื่องนิทานพระร่วง แลนิทานพระเจ้าธรรมไตรปิฎก นิทานพระชินศรี พระชินราช พระศาสดา" ซึงมีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับพงศาวดารเหนือและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพระบรมราชจักรีวงศ์กับพระพุทธชินราชเข้าไปด้วย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีพระดำริเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราชจากหลักฐานทางพุทธศิลป์นำมาเปรียบเทียบกับพงศาวดารเหนือว่าพระพุทธชินราช ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลป์อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยระคนกับพุทธศิลป์เชียงแสนแต่มีพัฒนาการไปกว่าพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม และช่างผู้สร้างพระพุทธชินราชกับพระพุทธชินสีห์นั้นเป็นช่างเดียวกัน หากแต่พระศรีศาสดาเป็นช่างอื่นจากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ที่ปรากฏ แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง 3 องค์หรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ชัด และเมื่อพิจารณาช่วงเวลาการสร้างแล้วทรงคาดว่าพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์น่าจะสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ในปี พ.ศ. 1900 มิใช่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยประทานเหตุผลว่า "พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปรากฏพระเกียรติในเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีแต่พระองค์เดียวคือพระมหาธรรมราชาลิไทย...พระมหาธรรมราชานี้เองที่พงศาวดารเหนือเรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก"

นอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราชว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยพิชญา สุ่มจินดา ซึ่งได้กำหนดอายุเวลาของพระพุทธชินราชขึ้นใหม่จากพุทธลักษณะขององค์พระพุทธรูปจากรูปแบบของเรือนแก้ว โดยเทียบเคียงกับลวดลายบนซุ้มเรือนแก้วที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุเวลาของลวดลายดังกล่าวอาจกำหนดได้ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย และจากสถาปัตยกรรมของพระวิหาร ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2232)

อย่างไรก็ตามความเห็นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ณ ขณะนี้คือความเห็นในแนวทางเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่เชื่อว่าพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ถูกสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1900 ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)

หมายเหตุ: ซุ้มเรือนแก้ว รูปหล่ออาฬวกยักษ์และท้าวเวสสุวัณเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นคนละยุคกับองค์พระโดยเชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาโดยสังเกตจากลักษณะลวดลายและลักษณะทางสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีการบูรณะพระพุทธชินราชโดยการเพิ่มอุณาโลมบริเวณพระนลาฏในสมัยหลัง (คาดว่าน่าจะทำขึ้นในสมัยอยุธยา เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานการบูรณะเพิ่มเติม)


หลวงพ่อโสธร หรือ หลวงพ่อพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ข้อมูลจากการตรวจสอบภายในหลวงพ่อโสธรโดยกรมศิลปากร พบว่า หลวงพ่อโสธรประกอบขึ้นจากหินทรายแปดชิ้น แล้วพอกปูนทับเป็นองค์

จากวัสดุที่ใช้ และพุทธศิลป์ พบว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น (ต่างจากตำนานที่เป็นพระเหนือ)

(ภาพจากหนังสือพระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์)

พุทธลักษณะ

หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว พระเพลากว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวงวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตำนาน

ตำนานหลวงพ่อโสธรนั้น ตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด ทราบตามที่เล่าต่อๆ กันมาแต่เพียงว่า ในจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของไทย มีพระภิกษุสามองค์พี่น้อง เรียนพระธรรมวินัยแตกฉานแล้วก็จำแลงกายเป็นพระพุทธรูป

เมื่อมาถึงบริเวณหนึ่งก็ปรากฏองค์ขึ้น ชาวบ้านบริเวณนั้นพบเข้าก็พากันเอาเชือกมนิลามาฉุดขึ้น แต่ก็เอาขึ้นมาไม่ได้เพราะเชือกขาด ก่อนที่พระทั้งสามองค์จะจมหายไปบริเวณที่พระทั้งสามองค์ลอยทวนน้ำหนีนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาได้เพี้ยนและเรียกว่า สัมปทวน อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจนทุกวันนี้

ต่อมาได้มาผุดขึ้นที่คลองคุ้งให้ชาวบ้านแถวนั้นเห็นอีก ชาวบ้านก็พยายามฉุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จอีก สถานที่นั้นเรียกว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้สำแดงอภินิหารในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างที่ 2 ฉะเชิงเทรา บริเวณนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน คลองนั้นได้นามว่า คลองสองพี่น้อง ภายหลังก็เงียบไป

จวบจนองค์หนึ่งได้ลอยไปจนถึงแม่น้ำแม่กลอง และไปปรากฏขึ้นที่สมุทรสงคราม ชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนชาวสมุทรสงคราม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม มาจนทุกวันนี้

องค์ที่สองได้ลอยวนไปวนมาและมาผุดขึ้นหน้า วัดหงษ์ เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีหงษ์ทำด้วยทองเหลืองอยู่บนยอดเสานั้น จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์ ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็นวัดโสธร

ประชาชนพลเมืองจำนวนมากได้พากันหลั่งไหลมาอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษผู้รู้คนหนึ่งสำเร็จไสยศาสตร์หรือเทพไสยรู้หลักและวิธีอาราธนา จึงได้ทำพิธีปลูกศาลเพียงตาบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญชุมนุมเทวดาอาราธนา และได้ใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ของพระพุทธรูปก่อนจะค่อยฉุดลากขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปจึงเสด็จขึ้นมาบนฝั่งเป็นที่ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งของชาวเมือง จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ในพระวิหารวัดโสธร และเรียกนามว่า พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร ตั้งแต่นั้นมา

ส่วนองค์สุดท้ายได้ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่แต่ก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า สามแสน ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สามเสน และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ลอยไปผุดขึ้นที่คลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ในตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน[1]

บางตำนานได้เล่าว่ามีพระพุทธรูปพี่น้องอยู่ห้าองค์ อีกสององค์คือ หลวงพ่อไร่ขิง วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ หลวงพ่อ(ทอง)เขาตะเครา วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี และบางพื้นที่เล่าเป็นพระพุทธรูปพี่น้องหกองค์ โดยเพิ่ม หลวงปู่หิน วัดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ด้วย




หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นวัดสำคัญตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน (เรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี) ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก)" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533

ประวัติ

คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)) ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) มรณภาพเมื่อปี วอก พ.ศ. 2427 รวมสิริอายุ 91 ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา พ.ศ. 2428 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุพิเศษวัดศาลาปูน ดังนั้น งานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน” [1] แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์วัดเมื่อใดหรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ. 2453 ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ 75 ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) อย่างไรก็ตาม ในการปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ. 2427 หรือ 2453 เป็นต้นมา

สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า “ไร่ขิง” ต่อมา เมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า “วัดไร่ขิง”

ในราวปี พ.ศ. 2446 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม” ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า “ไร่ขิง” ต่อท้ายคำว่า “มงคลจินดาราม” จึงต้องเขียนว่า “วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง” แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า “วัดไร่ขิง” สืบมาจนทุกวันนี้

หลวงพ่อวัดไร่ขิง

วัดไร่ขิง พระอารามหลวง

องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่บนฐานอยู่บนฐานชุกชี 5 ชั้น เบื้องหน้าผ้าทิพย์ปูทอดลงมาองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในอุโบสถ หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมากรณ์ เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดีจึงมีประชาชนจำนวนมากมาชุมนุมกัน ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพ สู่ปะรำพิธีได้เกิดอัศจรรย์แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป ความร้อนระอุในวันสงกรานต์ก็บังเกิดมีเมฆดำมืดทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนอง และบันดาลให้มีฝนโปรยลงมาทำให้เกิดความเย็นฉ่ำและเกิดความปิติ ยินดีกันโดยทั่วหน้า ประชาชนที่มาต่างก็พากันตั้งจิตรอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่า “หลวงพ่อจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำ เจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉะนั้น” ดังนั้น วันดังกล่าวที่ตรงกับวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ทางวัดจึงได้ถือเป็นวันสำคัญ และได้จัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ตำนานหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้นจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีหลายตำนาน ดังนี้

  • ตำนานที่ 1 ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญมาจากวัดศาลาปูนฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 วันสงกรานต์พอดี

  • ตำนานที่ 2 วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช 2394 ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 3 ต้นปี ในรัชการที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของตนที่ไร่ขิง เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูป

สำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า ( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) มาเพื่อประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถแต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน ส่วนงานที่เหลืออยู่พระธรรมราชานุวัตร(อาจ จนฺทโชโต) หลานชายของท่านจึงดำเนินงานต่อจนเรียบร้อย และบูรณะดูแลมาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพ

  • ตำนานที่ 3 ตามตำนานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา 5 องค์ก็มี 3 องค์ก็มีโดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี 5 องค์นั้น ตรงกับคำว่า " ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน " ซึ่งได้มีการเล่าเป็นนิทานว่า ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมากได้พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้ว ก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงพระนิพานครั้งพระอริยบุคคลทั้ง 5 องค์ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าไปสถิตในพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์จะมีความปรารถนาที่จะช่วยคนทางเมืองใต้ที่อยู่ติดแม่น้ำให้ได้พ้นทุกข์ จึงได้พากันลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง 5 สาย เมื่อชาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้า จึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ มีดังนี้

    • พระพุทธรูปองค์ที่ 1 ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ขึ้นสถิตที่วัดโสธรวรวิหาร เมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร"

    • พระพุทธรูปองค์ที่ 2 ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน)ขึ้นสถิตที่วัดไร่ขิงเมืองนครชัยศรี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"

    • พระพุทธรูปองค์ที่ 3 ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสถิตที่วัดบางพลี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบางพลี" แต่บางตำนานก็ว่า หลวงพ่อวัดบางพลีเป็นองค์แรกในจำนวน 5 องค์ จึงเรียกว่า "หลวงพ่อโตวัดบางพลี "

    • พระพุทธรูปองค์ที่ 4 ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"

    • พระพุทธรูปองค์ที่ 5 ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเคราเมืองเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

ส่วนตำนานของเมืองนครปฐมนั้นเล่าว่า มีพระ 3 องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" พระพุทธรูป 3 องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน" แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด" ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ส่วนองค์ที่ 2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" และองค์ที่ 3 ลอยตามน้ำไปตามจังหวัดเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"





พระอัจฉริยภาพด้านอาหารในรัชกาลที่ 5

“—พ่อตำน้ำพริก ขาดน้ำตาล ใช้น้ำตาลกรวดแทน ช่างประดักประเดิดจริงๆ แก้อย่างไร มันปร่าอยู่นั่นเอง ถ้าเป็นที่บางกอกก็โทษถึงไม่เสวย—”

ป็นข้อความตอนหนึ่งในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล เมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ. 2450 ฉบับที่ 28 อันเป็นคืนที่ 107 แห่งการเสด็จรอนแรมอยู่ในต่างแดน ทรงต้องเสวยพระกระยาหารฝรั่งที่บางครั้งก็ดีถูกพระทัย บางคราวก็เลี่ยนไม่ถูกพระทัย ทำให้ทรงคิดถึงพระกระยาหารไทยอยู่บ่อยๆ ดังนั้นครั้งใดเมื่อทรงสบโอกาสสะดวก ก็จะโปรดให้ประกอบอาหารไทยทันที แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะเครื่องประกอบอาหารไม่ครบ ดังที่ทรงพระราชปรารภว่า “—ช่างประดักประเดิดจริงๆ แก้อย่างไร มันปร่าอยู่นั่นเอง—”


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง ที่มีพระอัจฉริยภาพรอบด้าน รอบพระองค์ ตั้งแต่เรื่องสำคัญนับแต่เรื่องการบริหารประเทศ มาจนเรื่องเล็ก เช่น เรื่องการปลูกต้นไม้ หรือเรื่องการประกอบอาหาร


เมื่อประทับในพระบรมมหาราชวัง การประกอบพระกระยาหารเป็นหน้าที่ของข้าราชสำนักฝ่ายใน มีพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ทรงกำกับห้องเครื่องต้น ทรงสรรหาผู้มีฝีมือและฝึกฝนเพิ่มเติมจนชำนาญมาประจำจนเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการทำเครื่องเสวย โดยเฉพาะองค์เจ้าสำนักทรงเอาพระทัยใส่ในกิจกรรมการประกอบพระกระยาหาร ไม่ว่าจะเป็นพระกระยาหารดั้งเดิม พระกระยาหารที่คิดค้นขึ้นใหม่ หรือพระกระยาหารที่ดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่น ครั้งตามเสด็จชวาก็นำอาหารชวามาดัดแปลงเป็นอาหารไทยหลายอย่างและด้วยความสังเกตเอาพระทัยใส่ในรสชาติของพระกระยาหาร พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ต้องพระราชนิยม


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีรสนิยมในเรื่องพระกระยาหารเป็นเลิศ ดังจะเห็นได้จากแม้พระกระยาหารธรรมดาๆ ประกอบง่ายๆ อย่างเช่น ปลาทูทอด ก็ทรงพิถีพิถันในรสชาติอันเกิดจากกรรมวิธีการทอดให้มีทั้งกลิ่นหอมและรสอร่อย ซึ่งเจ้าจอมเอิบจะเป็นผู้ที่มีความสามารถทอดปลาทูได้ถูกพระทัย ดังปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ในพระราชหัตถเลขาถึงพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ สั่งให้รับเจ้าจอมเอิบออกไปทอดปลาทู เมื่อมีพระราชประสงค์จะเสวยพระกระยาหารแบบปิคนิคที่พลับพลาทุ่งพญาไท ความว่า “—เรื่องทอดปลาทู ข้าอยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้ว ข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาทอดปลาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน บอกกรมวังให้จัดรถให้นางเอิบออกไปทอดปลา—”


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยพระกระยาหารร่วมกับพระเจ้าลูกยาเธอ ภาพจากอัลบั้มฝีมือเจ้าจอมเอิบ บุนนาค ถ่ายบนโต๊ะเสวย พระกระยาหารนี้น่าจะมีปลาทูทอดฝีมือเจ้าจอมเอิบด้วย

แม้จะทรงเคยชินกับพระกระยาหารที่ปรุงอย่างพิถีพิถันทั้งรสชาติและการตกแต่งให้สวยงามสะดวกเวลาเสวย แต่ก็มีบางครั้งที่มีพระราชประสงค์จะเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการประกอบอาหารง่ายๆ ด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะเมื่อเสด็จประพาสต้น ครั้งหนึ่งโปรดทรงเรือฉลอมประพาสปากอ่าวแม่กลอง ทรงซื้อกุ้งปลาที่จับได้ตามละมุ โปรดต้มข้าวต้มในเรือด้วยพระองค์เอง เป็นข้าวต้มปลาทู กุ้ง และปลาหมึกสดรวมกัน รสชาติของข้าวต้มครั้งนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ว่า “—ตั้งแต่ฉันเกิดมา ไม่เคยกินข้าวต้มอร่อยเหมือนวันนั้นเลย—”


หรืออย่างครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ทรงเบื่อพระกระยาหารฝรั่ง มีพระราชประสงค์จะเสวยข้าวคลุกกะปิ จึงโปรดสั่งให้หุงข้าว ทรงเล่าไว้ว่า “—เหลือกะปิ น้ำตาลติดก้นขวด เอามาปนกับมะนาวบีบ พริกป่นโรยลงไปหน่อย คลุกข้าวกินกับหมูแฮมแลกับฝรั่ง เพลินอิ่มสบายดี—”

การที่ทรงปรุงพระกระยาหารได้ในยามจำเป็นหรือยามที่มีพระราชประสงค์นั้น น่าจะเกิดจากพระอัจฉริยภาพส่วนพระองค์ ซึ่งทรงช่างสังเกตและทรงใฝ่ศึกษาหาความรู้ และบางครั้งแม้จะทรงชินกับอาหารฝรั่ง แต่ถ้าทรงเห็นว่ามีส่วนคล้ายอาหารไทยก็จะโปรดดัดแปลงให้มีรสชาติแบบไทยๆ ทันที


(คัดลอกส่วนหนึ่งจากบทความ “พระอัจฉริยภาพด้านอาหารในรัชกาลที่ 5” เขียนโดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ตุลาคม 2552)